Red Bobblehead Bunny

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุปวิจัย


สรุปวิจัย


งานวิจัย เรื่อง   ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต

การศึกษาระดับ  หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 
มหาวิทยาลัย       มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้วิจัย                   ปณิชา มโนสิทธยากร
ปีการศึกษา          2553

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 
2. เพื่อศึกษาระดับและการเปลยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 

ขอบเขตของการศึกษา
      ประชากรที่ใช้ในการวิจัย   ประชากรที่ใชในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้น อนุบาล 3 โรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กลุ่มงานโรงเรียนนโยบายพิเศษ ในความดูแลของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย จํานวน 60 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
      เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จํานวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simples Random Sampling) มา 1 ห้องเรียน จากจํานวนทั้งหมด 2 ห้องเรียน

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
      ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต  
      ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
         -เด็กปฐมวัย
         -ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         
การจัดกิจกรรมเศษส่วนพลาสติกอะครีลิกชนิดใสทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         -การสังเกต 
         -เปรียบเทียบรูปร่างของจํานวน 
         -การจัดหมวดหมู่ 
         -การเรียงลําดับ 
         -การนับจํานวน

เครื่องมือที่ใช้วิจัย
     1.กิจกรรมเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วน จํานวน 60 กิจกรรม  
     2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินวิจัย
   1.ทําการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  
   2. ผู้วิจัยดําเนินการทดลองด้วยตนเองโดยใช้ระยะเวลาการทดลองในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาทีรวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง  
   3. หลังการเสร็จสิ้นการทดลองผู้วิจัยทําการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลอง แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กําหนด  
   4. นําคะแนนที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทาการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย
   1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตมีทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเล่นเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
   2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรม เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต อยู่ในระดับดีโดยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์สูงขึ้น เพราะเด็กมีโอกาสได้เล่นเกมทุกวัน ซึ่งประกอบด้วยเกมที่หลากหลายจํานวน 60 เกม เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต เป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะ ด้านการเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลําดับ การบอกตําแหน่ง และการรู้ค่ารู้จำนวน ในระยะเวลา ตลอด 8 สัปดาห์ของการทดลอง เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ ตลอดเวลาทําให้เด็กเกิดทักษะทั้ง 5 ด้าน




สรุปผลวิจัย
   1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรม เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 
   2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรม เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตอยู่ในระดับดีโดยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์สูงขึ้นในรายด้าน คือ ด้านการเรียงลําดับเป็นอันดับแรก ด้านการเปรียบเทียบเป็นระดับที่สอง ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการบอกตําแหน่ง ด้านการรู้ค่ารู้จํานวน ตามลําดับ 











             



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น