Red Bobblehead Bunny

วันจันทร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุปวิจัย


สรุปวิจัย


งานวิจัย เรื่อง   ทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต

การศึกษาระดับ  หลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย 
มหาวิทยาลัย       มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้วิจัย                   ปณิชา มโนสิทธยากร
ปีการศึกษา          2553

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 
2. เพื่อศึกษาระดับและการเปลยนแปลงทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตรของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเล่นเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 

ขอบเขตของการศึกษา
      ประชากรที่ใช้ในการวิจัย   ประชากรที่ใชในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้น อนุบาล 3 โรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กลุ่มงานโรงเรียนนโยบายพิเศษ ในความดูแลของสมาคมฮากกาแห่งประเทศไทย จํานวน 60 คน

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 
      เป็นนักเรียนชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปีชั้นอนุบาล 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนจิ้นเตอะ เขตสาทร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสํานักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตพื้นที่การศึกษา เขต 1 จํานวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simples Random Sampling) มา 1 ห้องเรียน จากจํานวนทั้งหมด 2 ห้องเรียน

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
      ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต  
      ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

นิยามศัพท์เฉพาะ
         -เด็กปฐมวัย
         -ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         
การจัดกิจกรรมเศษส่วนพลาสติกอะครีลิกชนิดใสทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
         -การสังเกต 
         -เปรียบเทียบรูปร่างของจํานวน 
         -การจัดหมวดหมู่ 
         -การเรียงลําดับ 
         -การนับจํานวน

เครื่องมือที่ใช้วิจัย
     1.กิจกรรมเกมการศึกษาที่เน้นเศษส่วน จํานวน 60 กิจกรรม  
     2. แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

วิธีดำเนินวิจัย
   1.ทําการทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  
   2. ผู้วิจัยดําเนินการทดลองด้วยตนเองโดยใช้ระยะเวลาการทดลองในการเล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต 8 สัปดาห์สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 40 นาทีรวมทั้งสิ้น 24 ครั้ง  
   3. หลังการเสร็จสิ้นการทดลองผู้วิจัยทําการทดสอบหลังการทดลอง (Posttest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ฉบับเดียวกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลอง แล้วตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กําหนด  
   4. นําคะแนนที่ได้จากการทดสอบทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์มาทาการวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย
   1. เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตมีทักษะ พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมเล่นเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01
   2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรม เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต อยู่ในระดับดีโดยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์สูงขึ้น เพราะเด็กมีโอกาสได้เล่นเกมทุกวัน ซึ่งประกอบด้วยเกมที่หลากหลายจํานวน 60 เกม เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต เป็นการส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะ ด้านการเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การเรียงลําดับ การบอกตําแหน่ง และการรู้ค่ารู้จำนวน ในระยะเวลา ตลอด 8 สัปดาห์ของการทดลอง เด็กมีปฏิสัมพันธ์กับสื่อ ตลอดเวลาทําให้เด็กเกิดทักษะทั้ง 5 ด้าน




สรุปผลวิจัย
   1. ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้านของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรม เล่นเกมการศึกษาเน้นเศษส่วนรูปเรขาคณิตสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา เน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิต อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 
   2. เด็กปฐมวัยมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งโดยรวมและรายด้าน หลังการจัดกิจกรรม เกมการศึกษาเน้นเศษส่วนของรูปเรขาคณิตอยู่ในระดับดีโดยมีการเปลี่ยนแปลงทักษะพื้นฐานทาง คณิตศาสตร์สูงขึ้นในรายด้าน คือ ด้านการเรียงลําดับเป็นอันดับแรก ด้านการเปรียบเทียบเป็นระดับที่สอง ด้านการจัดหมวดหมู่ ด้านการบอกตําแหน่ง ด้านการรู้ค่ารู้จํานวน ตามลําดับ 











             



วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2562

สรุปบทความ

สรุปบทความ

เรื่อง....สอนลูกเรื่องจำนวนนับ การนับและตัวเลข


ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบพา เรืองรอง
          การจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจเรื่องจำนวน ซึ่งหมายถึง ลักษณะที่แสดงปริมาณของสิ่งต่างๆ จำนวนทั่วๆไปเป็นนามธรรม มีรูปร่าง ขนาด หรือลักษณะใดๆ ที่สามารถจับต้องหรือมองเห็นได้ ให้เด็กรู้จักการนับ 

👶การสอนเรื่องจำนวนการนับและตัวเลขสำคัญอย่างไร?
     ✔เรื่องของจำนวนจะต้องเป็นเรื่องแรกของการเรียนคณิตศาสตร์ เมื่อเด็กเรียนเรื่องจำนวนอย่างเข้าใจจะทำให้เด็กเกิดความรู้สึกว่าการเรียนมิใช่เรื่องยาก เขาสามารถประสบความสำเร็จได้ ส่งผลให้เด็กมีทัศนคติที่ดต่อการเรียน
     ทั้งตัวเลขและการนับ เป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การเรียนรู้สัญลักษณ์ของจำนวน อย่างมีความหมายต่อตัวเด็กเอง
     จำนวน ตัวเลขและการนับ เป็นภาษาคณิตศาสตร์ที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวัน

👶การสอนเรื่องจำนวนการนับและตัวเลขมีประโยชน์ต่อเด็กอย่างไร?
     ✔เด็กจะบอกชื่อจำนวนนับและใช้ตัวเลขได้อย่างถูกต้อง
     เด็กจะเปรียบเทียบจำนวนได้ถูกต้องว่าจำนวนใดมากกว่า น้อยกว่า เท่ากัน หรือไม่เท่ากัน
     เด็กจะจัดลำดับจำนวนจากมากไปหาน้อยและจากน้อยไปหามากได้ถูกต้องทั้งสองวิธี
     เด็กจะแสดงวิธีนับได้

👶กิจกรรมที่ครูสามารถจัดเพื่อส่งเสริมเด็กในเรื่อวจำนวนับและตัวเลขคือ?
กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ครูสอนเรื่องจำนวน โดยใช้สิ่งของใกล้ตัว ได้แก่ แก้วน้ำ กระเป๋า ผ้ากันเปื้อน มาใช้แสดง เช่น ครูแสดงจำนวนแก้วน้ำ 2 ใบ และออกเสียงคำว่า สอง แล้วเปลี่ยนของใช้ชนิดอื่นๆ ให้หลากหลาย ได้แก่ แก้วน้ำ 2 ใบ กระเป๋า 2 ใบ ผ้ากันเปื้อน 2 ผืน หรือสนทนากับเด็กโดยใช้คำว่า หนึ่ง สอง สาม ... (ชื่อจำนวน) และให้เด็กเขียน หรืออ่านเมื่อเด็กพร้อมที่จะปฏิบัติ แล้วให้เด็กเปรียบเทียบจำนวนที่เรียนใหม่ กับจำนวนเก่าที่เรียนมาแล้ว บอกสัญลักษณ์มาตรฐาน คือ ตัวเลขอารบิก (เขียน 2) หรือตัวเลขไทย (เขียน ๒) ตัวเลขเป็นสัญลักษณ์ที่ใช้แทนจำนวน เมื่อสอนเรื่องจำนวนจึงต้องสอนเรื่องตัวเลขไปพร้อมกัน การสอนเรื่องตัวเลขจะมี 3 ลักษณะ คือ
  • 🔎ใช้ตัวเลขบอกปริมาณสิ่งของ เช่น กระเป๋านักเรียน 5 ใบ
  • 🔎ใช้ตัวเลขบอกลำดับหรือตำแหน่งของจำนวน เช่น กระเป๋าใบที่ 5
  • 🔎ใช้ตัวเลขเป็นชื่อของสิ่งต่างๆ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ หมายเลขที่บ้าน ซึ่งหมายเลขเหล่านี้ไม่เกี่ยวกับจำนวน









ตัวอย่างสื่อการสอน

ตัวอย่างสื่อ



จุดมุ่งหมาย
1. ส่งเสริมการนับจำนวน
2. ส่งเสริมทักษะการเพิ่มจำนวน

วิธีการใช้
ให้เด็กนำตัวลูกคิดมาใส่ที่แท่งไม้ให้มีค่าเท่ากับจำนวนเลข ฝึกเด็กในด้านการนับเลข 1- 10 ช่วยให้เด็กมีพัฒนาการในการนับเลข





กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ

วันที่  12 มกราคม พ.ศ. 2562
คำขวัญ

"เด็ก เยาวชน จิตอาสา ร่วมพัฒนาชาติ "

การจัดกิจกรรมวันเด็กโดยสาขาวิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม
ในวันเสาร์ที่ 12 มกราคม พ.ศ.2562

โดยแต่4สาขาวิชา จะช่วยกันคิดหากิจกรรมให้เด็กได้เข้ามาทำกิจกรรมที่เราจัดให้กับเด็กๆ
กิจกรรมนั้นต้องเหมาะสมกับวัยของเด็ก ไม่ยากเกินไปและไม่ง่ายเกินไปจนเด็กไม่ได้ใช้ความคิด
สาขาการศึกษาปฐมวัยชั้นปีที่ 2 จัดซุ้ม 2 ซุ้ม แบ่งเป็น 2เซค
กลุ่มแรก ชื่อซุ้มว่า "Bowling By Early"
 วิธีการเล่น
1 จัดเรียงขวดน้ำ 10 ขวด
2 ให้บอลแก่เด็ก
3 ให้เด็กโยนบอลทไให้ขวดล้ม

การทำกิจกรรมสร้างความสนุกสนานให้กับเด็กและยังทำให้เราได้ประสบการณ์สำคัญ ที่เราสามารถนำไปจัดให้กับเด็กในอนาคตที่เราไปเป็นคุณครู

รูปภาพกิจกรรม






วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 13

วันพุธที่ 24 เมษายน พ.ศ.2562


คณิตศาสตร์สําหรับปฐมวัย

ความสําคัญของคณิตศาสตร์สําหรับปฐมวัย
1. ทำให้เป็นคนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น โดยเฉพาะอาศัยหลักการทางคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐา
2 ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิผล
4. เป็นเครื่องมือที่สําคัญในการสํารวจข้อมูล วางแผนงานและประเมินผลการดําเนินงาน
5. เรียนวิชาต่างๆ ได้ดี เพราะคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ของวิชาอื่นๆโดยเฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวัย
1. เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การรู้จักคําศัพท์
2. เพื่อพัฒนามโนภาพเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ เช่น การบวก ลบ
3.เพื่อให้เด็กรู้จักและใช้กระบวนการหาคําตอบ
4. เพื่อให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
5.เพื่อให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
6. เพื่อส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคําตอบด้วยตนเอง
 สาระสำคัญทางคณิตศาสตร์
สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริงเข้าใจถึงผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการของจำนวนและความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินการต่างๆ และใช้การดำเนินการในการแก้ปัญหาใช้การประมาณค่าในการคำนวณและแก้ปัญหา
สาระที่ 2 การวัด
เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด วัดและคาดคะเนขนาดของสิ่งที่ต้องการวัดแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
 สาระที่ 3 เรขาคณิต
อธิบายและวิเคราะห์รูปเรขาคณิตสองมิติและสามมิติใช้การนึกภาพ (visualization) ใช้เหตุผลเกี่ยวกับปริภูมิ 
(spatialreasoning) และใช้แบบจำลองทางเรขาคณิต (geometric model)ในการแก้ปัญหา
สาระที่ 4 พีชคณิต
เข้าใจและวิเคราะห์แบบรูป (pattern) ความสัมพันธ์ และฟังก์ชันใช้นิพจน์ สมการ อสมการ กราฟ และตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์
(mathematical model) อื่นๆ แทนสถานการณ์ต่างๆ ตลอดจนแปลความหมาย และนำไปใช้แก้ปัญหา
สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
เข้าใจและใช้วิธีการทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติและความรู้เกี่ยวกับความน่าจะเป็นในการคาดการณ์ได้
อย่างสมเหตุสมผลใช้ความรู้เกี่ยวกับสถิติและความน่าจะเป็นช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหา
สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์
มีความสามารถในการแก้ปัญหา การให้เหตุผล การสื่อสาร การสื่อความหมายทางคณิตศาสตร์ และการนำเสนอ การเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆทางคณิตศาสตร์และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

เรียนเนื้อหาเกี่ยวกับการเปรียบเทียบจำนวน มากกว่า น้อยกว่า เท่ากับ อาจารย์ได้ทำการสอนถึงเรื่องของการทำแผนผังการแยก จำแนก ทางคณิตศาสตร์ โดยการยกตัวอย่างหัวข้อใกล้ตัว ได้แก่เรื่อง ไข่


หัวข้อ นก

หัวข้อรอง 1.ชื่อ
                              -ไข่ไก่
                              -ไข่เป็ด
                              -ไข่เต่า
                              -ไข่นกกระทา
                              -ไข่จิ้งจก

                  2.ลักษณะ
                              -สี (ครีม / ดำ / ขาว)
                              -รูปทรง (ทรงรี ทรงกลม)
                              -ขนาด (ใหญ่ / กลาง / เล็ก / จิ๋ว)
                              -ผิว (เรียบ / ขรุขระ)

                  3.การดำรงชีวิต
                              -อาหาร (น้ำ / แมลง / ปลายข้าว / รำข้าว)
                              -ที่อยู่อาศัย (เล้าไก่ / สุ่มไก่)
                              -อากาศ

                 4.ประโยชน์
                              -ทำอาหาร
                              -สร้างรายได้ (ฟาร์มไก่ / ขายไข่ไก่)
                              -แปรรูป (ไข่เยี่ยวม้า / ไข่เค็ม)

และอาจารย์ให้นักศึกษาทำแผนผังเกี่ยวกับ นก



ภาพบรรยากาศในห้องเรียน




                         จากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบาย และให้นักศึกษากลับไปทำแผ่นพับเป็นการบ้าน ส่งในblogger




สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์เรียนครั้งสุดท้ายของรายวิชา การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


คำศัพท์
1. Off course   ปิดคอร์ส
2. Brochures   แผ่นพับ
3. Egg            ไข่
4. Method       วิธีการ
5. Simulate    จำลอง

ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้วิธีการทำแผ่นพับเป็นเครื่องมือเพื่อสื่อสารกับทางผู้ปกครอง

ประเมินอาจารย์ : เข้าสอนตรงเวลา ให้ความรู้กับนักศึกษาอย่างเต็มที่
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลา ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน : ตั้งใจเรียน









วันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2562

   วันนี้เรียนรวมกัน 2 เซค สัปดาห์นี้อาจารย์บอกแนวข้อสอบและพูดคุยเกี่ยวกับเนื้อหาในรายวิชา ต่อมาอาจารย์แจกกระดาษขนาด A4 คนละ 1 แผ่น และให้เราทำความเข้าใจและสรุป.... 
 "คู่มือมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย"

บรรยากาศภายในห้องเรียน




ใบงานเรื่องคู่มือมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย




คำศัพท์
1. Standard     มาตรฐาน
2. Research     ค้นคว้า
3. Understanding  ความเข้าใจ
4. Teaching    การสอน
5. Intend       ตั้งใจ

ความรู้ที่ได้รับ
ได้รู้เกี่ยวกับมาตรฐานคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์พยายามให้เกร็ดความรู้แก่นักศึกษา
ประเมินตนเอง : สรุปและเข้าใจมาตรฐานทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้น
ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำงานที่ได้รับมอบหมาย




วันเสาร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนครั้งที่ 11



วันพุธที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2562

       สัปดาห์นี้อาจารย์เข้าตรวจ Blogger ของนักศึกษาเป็นรายบุคคลเพื่อที่จะดูความคืบหน้าของBloggerพร้อมทั้งบอกส่วนประกอบของ Blogger ว่าควรมีอะไรบ้าง การตกแต่งก็สามารถสะท้อนให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาแต่ละคน

       พอตรวจ Blogger เสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็ได้ให้นักศึกษานำผลงานสื่อของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าห้องเพื่อที่จะให้คะแนนและอาจารย์ก็ให้คำแนะนำ บางกลุ่มก็มีส่วนที่ต้องแก้ไขในบางจุด





ขั้นตอนการทำสื่อ....เศษส่วนเจ้าปัญหา

วัดและวาดกระดาษเป็นรูปวงกลมเพื่อวาดพิซซ่า

วาดหน้าพิซซ๋า

ตัดเส้นหน้าพิซซ่า

ระบายสีและตัดพิซซ่าเป็นวงกลม

ทำฐานสำหรับใส่ชิ้นส่วนพิซซ่า

ติดแลคซีนเพื่อให้งานดูเป็นระเบียบมากขึ้น

ทำช่องใส่คำตอบ



ทำตัวคำตอบสำหรับให้เด็กๆเอาไปติด


เอาตัวกระดาษคำตอบมาติดกับไม้หนีบ

เก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่ยังตกหล่น


เสร็จเรียบร้อยสำหรับสื่อ...เกมเศษส่วนเจ้าปัญหา



วิดีโอการทำกล่องเพื่อเก็บชิ้นส่วนเกมเศษส่วนเจ้าปัญหา

เอาผลงานออกมานำเสนอ

คำศัพท์
1. Circle    วงกลม
2. Creativity  ความคิดสร้างสรรค์
3. Can       สามารถ
4. Present  นำเสนอ
5. Progress ความคืบหน้า

ความรู้ที่ได้รับ
  ได้รู้ข้อผิดพลาดและข้อแก้ไขในการทำงาน

ประเมินอาจารย์ : บอกข้อผิดพลาดและข้อแก้ไขในการทำงานให้แก่นักศึกษา
ประเมินตนเอง : รับฟังความติชมแล้วเอาไปปรับแก้
ประเมินเพื่อน :  เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์แนะนำ